วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การสืบพันธุ์ของสัตว์


การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)

เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูงเป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด

ขั้นตอนการสืบพันธุ์



1. การแตกหน่อ (Budding)

เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ
ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
-
โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น

-ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 - 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 - 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา
เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา
ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป

2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)
เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ
เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา

3. พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis)
เป็นการสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ

4 . การงอกใหม่ (Regeneration)
พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม

5. การสร้างสปอร์ (Spore Formation)
เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย

6. การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)
เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอีกแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกที่มีเซลล์ต่อกันเป็นเส้นสายโดยการหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนที่หลุดไปก็จะแบ่งตัวแบบ Mitotic cell division ได้เซลล์ใหม่ที่ต่อกันเป็นเส้นสายเจริญต่อไป เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล


2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)

เป็นการสืบพันธุ์ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยการรวมตัวของหน่วยพันธุกรรมซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชี วิตตัวเดียวกัน หรือคนละตัวก็ได้ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell or gamete) ซึ่งจากการแบ่งตัวของ germ line cell แบบ meiotic cell division การรวมตัวของเซลล์สืบ พันธุ์เรียกว่า ปฏิสนธิ (fertilization) ได้นิวเคลียสใหม่ที่เป็นdiploid ซึ่งเรียกว่า Zygote และ zygote ที่ได้จะเป็นเซลล์เริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป

ขั้นตอนการสืบพันธุ์


ไข่ (Egg)
โดยทั่วไปมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ ไข่ของสัตว์มักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายในไข่ เช่น ไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ด ไข่แดงซึ่งมีเยื่อหุ้มอยู่เทียบได้กับเซลล์ 1 เซลล์ ส่วนจุดกลม ๆ ในไข่แดง คือ นิวเคลียส เซลล์ไข่ส่วนมากมักจะมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม เช่นไข่กบมีวุ้นหุ้ม ไข่เต่าทะเลมีสิ่งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเหนียวหุ้ม ไข่เป็ดและไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม เป็นต้น

ตัวอสุจิ (Sperm)
มีขนาดเล็กกว่าไข่มาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะมองเห็น ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (body) และหาง (tail) ส่วนหัวจะมีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ เคลื่อนที่โดยใช้หาง



ตัวอย่างเซลล์อสุจิมีขนาดเล็กกว่าไข่มากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
เพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
เพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่
เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ เพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตว์แต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้

เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิด การปฏิสนธิ (Fertilization) ขึ้น

ารปฏิสนธิ (Fertilization) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)
ตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมียได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม



2.การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization)
การผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวของสัตว์เพศเมีย ได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ปลาต่าง ๆ และสัตว์น้ำที่ออกลูกเป็นไข่ทุกชนิด

การสืบพันธุ์ของปะการัง
การสืบพันธุ์ของปะการังสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)และแบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรม (gene flow) ส่งผลให้สังคมปะการังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น แนวปะการังบางแห่ง เมื่อตรวจเช็คหาพันธุ์กรรม พบว่าทั้งแนวปะการังมีพันธุกรรมเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยอาศัยการแตกหักของร่างกายบางส่วน อย่างไรก็ตามการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สังคม และโครงสร้างทางสังคมสามารถดำรงอยู่ได้ โดยสร้างและผลิตตัวอ่อน ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม แพร่กระจายออกไปแทนที่ประชากรเดิมที่มี

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของปะการังแข็งเป็น 4 รูปแบบ

1. Hermaphrodite broadcaster
มีลักษณะของทั้งสองเพศภายในโพลิปเดียวกัน ไข่และน้ำเชื้อจะถูกรวมอยู่ในก้อนเล็กๆเรียกว่า "bundle" เมื่อเข้าสู่ระยะที่สมบูรณ์จะถูกปล่อยออกสู่ภายนอก bundle แต่ละก้อนจะแตกออก ซึ่งไข่และน้ำเชื้อจะผสมกันในมวลน้ำ

2.Hermaphrodite brooder
มีลักษณะที่มีสองเพศภายในโพลิปเดียวกัน ไข่และนำเชื้อมีการผสมกันภายในโพลิป ตัวอ่อนจะได้รับการพัฒนาอยู่ภายใน (internal fertilization) ระยะหนึ่งก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่ภายนอก

3.Gonochoric broadcaster
มีลักษณะที่ในแต่ละโคโลนี หรือในแต่ละโพลิปมีเพศที่ต่างกัน มีการปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาผสมกันภายนอกลำตัว

4.Gonochoric brooder
ลักษณะที่ในแต่ละโคโลนี หรือในแต่ละโพลิปมีเพศต่างกัน เพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมภายในโพลิปของกับทางจันทรคติ (lunar cycle) ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ในหลายพื้นที่เกิดขึ้นหลังจาก 15 ค่ำ ประมาณ 5 - 8 วัน สำหรับลักษณะความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ในเขตกึ่งเขตร้อน (sub-tropical) ปะการังมีแนวโน้มที่จะผลิตเซลล์สืบพันธุ์มากในช่วงฤดูร้อน สำหรับในเขตร้อนศูนย์สูตร (tropical) ปะการังมีแนวโน้มที่จะผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังแข็ง (Asexual reproduction)
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ในแนวปะการังการสืบพันธุ์แบบนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อทนทานต่อสภาพแวดล้อม ที่รุนแรงจึงมีน้อย ลักษณะที่เป็น homogenous genotype ทำให้ประชากรแต่ละตัวจะมี fitness ต่ำ ดังนั้น ความสามารถในการอยู่รอดการปรับตัวจึงต่ำ นอกจากนั้นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง อย่างไรก็ตามในแนวปะการังส่วนมากจะพบการสืบพันธุ์ ในรูปแบบนี้เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น

1.Flagmentation
โดยการแตกหักออกจากโคโลนีใหญ่ ปะการังจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่อย่างรวดเร็ว ขึ้นมาแทนที่ ในบางพื้นที่ที่มีตะกอนมาก โอกาสในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ก็จะลดลงไปด้วย การแตกหักที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับปะการังที่มีรูปร่างแบบกิ่งก้านมากกว่าแบบก้อน

2.Budding
เป็นการแบ่งตัวออกภายในโคโลนีแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
Intratentacular budding เป็นการแยกตัวโพลิปใหม่ออกจากโพลิปเดิม โดยเกิดเป็น 2 หรือ 3 โพลิปใหม่ แต่ไม่มีผนังของตนเองอย่างสมบูรณ์
Extratentacular budding เป็นการแบ่งตัวที่เกิดขึ้นภายนอกโพลิปเดิมทำให้โพลิปใหม่ มีผนังของตัวเองชัดเจน

3.Polyp bail-out
ปะการังจะมีการปล่อยโพลิปออกมาในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะ หรือมีความเครียด เกิดขึ้น ซึ่งการสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้จะมีน้อยชนิด
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิม ทำให้ก้อนปะการัง มีขนาดใหญ่ขึ้นและลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า " แนวปะการัง" การเจริญเติบโต ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 ซม. ต่อปี ส่วนปะการังก้อน มีการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1-2 ซม. ต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึงระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมแนวปะการัง จะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี

การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์
เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบ
ไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ

1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด

2. การเจริญเติบโต (growth)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน

3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์
เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ (cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ (endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ได้
ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้

4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ



14 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับ เอาไปทำรายงานพอดีเลย ^^

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากๆค้าบบบบบบ ขอให้เจริญๆนะจ้ะ

    ตอบลบ
  3. อยากรู้ว่ามีสัตว์ชนิดไหนอีกที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

    ตอบลบ
  4. ข้อมูลดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  5. ดีมากๆ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. ดีมากๆ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณมากๆนะครับ ผมนี้เท็งเลย

    ตอบลบ
  8. Best casinos in India 2021 - JTM Hub
    Here are 당진 출장마사지 the best casino India 2021. We have reviewed the top online 전라남도 출장마사지 casinos from top online Play online 상주 출장샵 casino games for real 계룡 출장안마 money at 수원 출장샵 JTM Hub.

    ตอบลบ