วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การสืบพันธุ์ของสัตว์


การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)

เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูงเป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด

ขั้นตอนการสืบพันธุ์



1. การแตกหน่อ (Budding)

เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ
ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
-
โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น

-ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 - 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 - 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา
เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา
ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป

2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)
เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ
เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา

3. พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis)
เป็นการสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ

4 . การงอกใหม่ (Regeneration)
พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม

5. การสร้างสปอร์ (Spore Formation)
เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย

6. การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)
เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอีกแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกที่มีเซลล์ต่อกันเป็นเส้นสายโดยการหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนที่หลุดไปก็จะแบ่งตัวแบบ Mitotic cell division ได้เซลล์ใหม่ที่ต่อกันเป็นเส้นสายเจริญต่อไป เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล


2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)

เป็นการสืบพันธุ์ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยการรวมตัวของหน่วยพันธุกรรมซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชี วิตตัวเดียวกัน หรือคนละตัวก็ได้ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell or gamete) ซึ่งจากการแบ่งตัวของ germ line cell แบบ meiotic cell division การรวมตัวของเซลล์สืบ พันธุ์เรียกว่า ปฏิสนธิ (fertilization) ได้นิวเคลียสใหม่ที่เป็นdiploid ซึ่งเรียกว่า Zygote และ zygote ที่ได้จะเป็นเซลล์เริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป

ขั้นตอนการสืบพันธุ์


ไข่ (Egg)
โดยทั่วไปมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ ไข่ของสัตว์มักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายในไข่ เช่น ไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ด ไข่แดงซึ่งมีเยื่อหุ้มอยู่เทียบได้กับเซลล์ 1 เซลล์ ส่วนจุดกลม ๆ ในไข่แดง คือ นิวเคลียส เซลล์ไข่ส่วนมากมักจะมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม เช่นไข่กบมีวุ้นหุ้ม ไข่เต่าทะเลมีสิ่งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเหนียวหุ้ม ไข่เป็ดและไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม เป็นต้น

ตัวอสุจิ (Sperm)
มีขนาดเล็กกว่าไข่มาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะมองเห็น ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (body) และหาง (tail) ส่วนหัวจะมีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ เคลื่อนที่โดยใช้หาง



ตัวอย่างเซลล์อสุจิมีขนาดเล็กกว่าไข่มากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
เพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
เพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่
เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ เพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตว์แต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้

เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิด การปฏิสนธิ (Fertilization) ขึ้น

ารปฏิสนธิ (Fertilization) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)
ตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมียได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม



2.การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization)
การผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวของสัตว์เพศเมีย ได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ปลาต่าง ๆ และสัตว์น้ำที่ออกลูกเป็นไข่ทุกชนิด

การสืบพันธุ์ของปะการัง
การสืบพันธุ์ของปะการังสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)และแบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรม (gene flow) ส่งผลให้สังคมปะการังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น แนวปะการังบางแห่ง เมื่อตรวจเช็คหาพันธุ์กรรม พบว่าทั้งแนวปะการังมีพันธุกรรมเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยอาศัยการแตกหักของร่างกายบางส่วน อย่างไรก็ตามการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สังคม และโครงสร้างทางสังคมสามารถดำรงอยู่ได้ โดยสร้างและผลิตตัวอ่อน ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม แพร่กระจายออกไปแทนที่ประชากรเดิมที่มี

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของปะการังแข็งเป็น 4 รูปแบบ

1. Hermaphrodite broadcaster
มีลักษณะของทั้งสองเพศภายในโพลิปเดียวกัน ไข่และน้ำเชื้อจะถูกรวมอยู่ในก้อนเล็กๆเรียกว่า "bundle" เมื่อเข้าสู่ระยะที่สมบูรณ์จะถูกปล่อยออกสู่ภายนอก bundle แต่ละก้อนจะแตกออก ซึ่งไข่และน้ำเชื้อจะผสมกันในมวลน้ำ

2.Hermaphrodite brooder
มีลักษณะที่มีสองเพศภายในโพลิปเดียวกัน ไข่และนำเชื้อมีการผสมกันภายในโพลิป ตัวอ่อนจะได้รับการพัฒนาอยู่ภายใน (internal fertilization) ระยะหนึ่งก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่ภายนอก

3.Gonochoric broadcaster
มีลักษณะที่ในแต่ละโคโลนี หรือในแต่ละโพลิปมีเพศที่ต่างกัน มีการปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาผสมกันภายนอกลำตัว

4.Gonochoric brooder
ลักษณะที่ในแต่ละโคโลนี หรือในแต่ละโพลิปมีเพศต่างกัน เพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมภายในโพลิปของกับทางจันทรคติ (lunar cycle) ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ในหลายพื้นที่เกิดขึ้นหลังจาก 15 ค่ำ ประมาณ 5 - 8 วัน สำหรับลักษณะความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ในเขตกึ่งเขตร้อน (sub-tropical) ปะการังมีแนวโน้มที่จะผลิตเซลล์สืบพันธุ์มากในช่วงฤดูร้อน สำหรับในเขตร้อนศูนย์สูตร (tropical) ปะการังมีแนวโน้มที่จะผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังแข็ง (Asexual reproduction)
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ในแนวปะการังการสืบพันธุ์แบบนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อทนทานต่อสภาพแวดล้อม ที่รุนแรงจึงมีน้อย ลักษณะที่เป็น homogenous genotype ทำให้ประชากรแต่ละตัวจะมี fitness ต่ำ ดังนั้น ความสามารถในการอยู่รอดการปรับตัวจึงต่ำ นอกจากนั้นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง อย่างไรก็ตามในแนวปะการังส่วนมากจะพบการสืบพันธุ์ ในรูปแบบนี้เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น

1.Flagmentation
โดยการแตกหักออกจากโคโลนีใหญ่ ปะการังจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่อย่างรวดเร็ว ขึ้นมาแทนที่ ในบางพื้นที่ที่มีตะกอนมาก โอกาสในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ก็จะลดลงไปด้วย การแตกหักที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับปะการังที่มีรูปร่างแบบกิ่งก้านมากกว่าแบบก้อน

2.Budding
เป็นการแบ่งตัวออกภายในโคโลนีแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
Intratentacular budding เป็นการแยกตัวโพลิปใหม่ออกจากโพลิปเดิม โดยเกิดเป็น 2 หรือ 3 โพลิปใหม่ แต่ไม่มีผนังของตนเองอย่างสมบูรณ์
Extratentacular budding เป็นการแบ่งตัวที่เกิดขึ้นภายนอกโพลิปเดิมทำให้โพลิปใหม่ มีผนังของตัวเองชัดเจน

3.Polyp bail-out
ปะการังจะมีการปล่อยโพลิปออกมาในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะ หรือมีความเครียด เกิดขึ้น ซึ่งการสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้จะมีน้อยชนิด
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิม ทำให้ก้อนปะการัง มีขนาดใหญ่ขึ้นและลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า " แนวปะการัง" การเจริญเติบโต ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 ซม. ต่อปี ส่วนปะการังก้อน มีการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1-2 ซม. ต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึงระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมแนวปะการัง จะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี

การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์
เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบ
ไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ

1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด

2. การเจริญเติบโต (growth)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน

3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์
เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ (cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ (endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ได้
ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้

4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ



วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male Reproductive System)

ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เป็นระบบที่สำคัญต่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเลี้ยงดูจนกลายเป็นตัวเต็มวัยออกมา โดยมีสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะตลอดจนเพศของลูกตั้งแต่มีการปฏิสนธิ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกของเพศชายและเพศหญิง จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ระยะที่อยู่ในท้องของแม่แล้ว โดยจะมีการพัฒนาควบคู่มากับระบบขับถ่าย ผลจาก Y chromosome ในตัวอ่อนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ชาย แต่ในตัวอ่อนเพศหญิงไม่มี Y chromosome จึงมีการพัฒนาให้เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงแทน
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ sperm และทำหน้าที่ในการนำส่ง sperm เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชายอีกด้วย

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
1. อัณฑะ (testes) มีการพัฒนามาจาก gonads ทำหน้าที่สร้าง sperm และ hormone เพศชายคือ testosterone
2. accessory ducts เป็นท่อนำ sperm จากอัณฑะออกไปสู่ภายนอก ประกอบด้วย epididymis, vas deferens, ejaculatory duct และท่อปัสสาวะ
3. accessory glands เป็นต่อมที่สร้างสารอาหารเลี้ยง sperm และช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียง sperm ออกสู่ภายนอกด้วย ได้แก่ seminal vesicle ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland)
4. penis ทำหน้าที่นำส่งน้ำอสุจิเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

ถุงอัณฑะ (scrotal sac หรือ scrotum)

ถุงอัณฑะเป็นส่วนผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงยื่นออกมาจากส่วนล่างของผนังหน้าท้องบริเวณส่วนกลางของถุงอัณฑะมีสันนูนคล้ายรอยเย็บ เรียกว่า scrotal raphe ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแยกออกเป็น 2 ถุง ภายในถุงอัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วย อัณฑะ epididymis และปลายด้านล่างของ spermatid cord ผิวหนังของถุงอัณฑะบางและเป็นรอยย่น (rugose) เนื่องจากในชั้นผิวหนังของถุงอัณฑะมีกล้ามเนื้อเรียบเรียกว่า dartos muscle ซึ่งถูกเลี้ยงโดยระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic กล้ามเนื้อ dartos จะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของอัณฑะให้คงที่ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการพัฒนาของ sperm ที่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส


อัณฑะ (testes)

อัณฑะ เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้อยู่ในถุงอัณฑะ มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 4x2.5x2 เซ็นติเมตร หนัก 10-15 กรัม ปกติอัณฑะทางด้านซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าทางด้านขวาประมาณ 1 เซ็นติเมตร ในตัวอ่อนอัณฑะจะวางตัวอยู่ในช่องท้องใกล้กับไต เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 7 เดือนอัณฑะจะเคลื่อนผ่าน inguinal canal ซึ่งเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างถุงอัณฑะกับช่องท้อง แล้วเข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะพร้อมทั้งนำเอาหลอดเลือด เส้นประสาทและท่อ vas deferens ที่ออกจากอัณฑะตามลงไปด้วยกลายเป็น spermatid cord การออกแรงยกของหนักหรือมีความดันในช่องท้องสูงอาจทำให้ inguinal canal ขยายเปิดกว้างออก อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในช่องท้องสามารถเคลื่อนผ่านรูนี้ออกมาดันอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกว่า ไส้เลื่อน (inguinal hernia) และถ้าหากอัณฑะยังไม่สามารถเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกสภาพนี้ว่า cryptochidism ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้าง sperm ได้
โครงสร้างของอัณฑะ

อัณฑะถูกหุ้มด้วย dense connective tissue ที่เรียกว่า tunica albuginea ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแบ่งอัณฑะออกเป็น lobule เล็ก ๆ ประมาณ 200-300 lobule ภายในแต่ละ lobule ประกอบด้วย interstitial cell of Leydig และ seminiferous tubule ซึ่งจะขดไปรวมความยาวทั้งหมดของ seminiferous tubule แล้วประมาณ 225 เมตร seminiferous tubule แต่ละหลอดมาบรรจบกันเป็น straight tubule (tubulus rectus) แล้วประสานกันเป็นตาข่ายเรียกว่า rete testis ต่อจากนั้น rete testis ก็จะรวมกันกลายเป็น ductuli efferents ทะลุ tunica albuginea เชื่อมต่อกับส่วนหัวของ epididymis


รูปที่ 2 ลักษณะโครงสร้างภายในถุงอัณฑะ


interstitial cell of Leydig (Leydig's cell)

Leydig's cell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใน dense connective tissue โดยแทรกอยู่ระหว่าง seminiferous tubule (รูปที่ 3) ทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชาย คือ testosterone เพื่อกระตุ้นให้เด็กชายแตกหนุ่มมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนเป็นเพศชายชัดเจน (male secondary sex charectoristics) คือมีหนวดเคราตามใบหน้า ขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าท้องและบริเวณหัวเหน่า กล่องเสียงขยายใหญ่ทำให้เสียงแตกห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัดใหญ่ และกระดูกยืดยาวขึ้น penis ขยายโตขึ้นและต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมาก seminal vesicle มีการเจริญเติบโตสร้างและหลั่งสารออกมา และกระตุ้นให้มีการสร้าง sperm
seminiferous tubule
seminiferous tubule เป็นท่อที่มีเยื่อบุผิวซึ่งวางตัวอยู่บน basal lamina ท่อนี้ถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและ เซลล์แบน ๆ มีลักษณะคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเรียก myoid cell เมื่อเซลล์นี้หดตัวช่วยบีบไล่ sperm ออกไปตามท่อ ภายใน seminiferous tubule จะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ spermatogenic cell เป็นเซลล์ที่ให้กำเนิดเซลล์สืบพันธุ์หลายระยะและ sertoli cell (supporting cell)
sertoli cell
sertoli cell เป็นเซลล์ทรงสูงคล้ายปิรามิด ฐานของเซลล์วางอยู่บน basal lamina ไปจนถึง lumen ทำหน้าที่ นำสารอาหารจากหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยในการลำเลียงเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์จาก basal lamina ของ seminiferous tubule ออกสู่ lumen ช่วยกัดกินและทำลายเซลล์สืบพันธุ์ที่ตายแล้ว

spermatogenic cell

spermatogenic cell เป็นกลุ่มของเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย มีรูปร่างกลม เรียงตัวแทรกอยู่ระหว่าง sertoli cell ตั้งแต่ชั้น basal lamina ไปจนถึง lumen ของ seminiferous tubule (รูปที่ 3) ซึ่งกลุ่มเซลล์เหล่านี้ จะมีการแบ่งตัวและเปลี่ยนตั้งแต่ spermatogonia จนกลายไปเป็น sperm เรียกกระบวนการนี้ว่า spermatogenesis ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 64 วัน แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 4 ระยะคือ
1. spermatocytogenesis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ mitosis เริ่มต้นตั้งแต่ spermatogonia จนกลายเป็น primary spermatocyte เพื่อเพิ่มปริมาณของเซลล์สืบพันธุ์
2. meiosis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyte จนกลายเป็น spermatid ซึ่งทำให้จำนวน chromosome ลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเป็น 23 chromosome จะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง
-meiosis I เป็นการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyte กลายเป็น secondary spermatocyte
-meiosis II เป็นการแบ่งเซลล์จาก secondary spermatocyte กลายเป็น spermatid
3. spermiogenesis เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ spermatid ซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างกลมให้กลายเป็นเซลล์มีรูปร่างลักษณะพิเศษคือ sperm โดยอาศัย organelle ใน spermatid คือ นิวเคลียส, golgi apparatus, mitochondria และ centrioles
4. spermiation เป็นกระบวนการปลดปล่อย sperm ออกสู่ lumen


รูปที่ 4 กระบวนการ spermeogenisis

ถ้าเอา sperm แต่ละตัวที่เจริญเต็มที่ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นว่า sperm แต่ละตัวมีความยาว 55-65 ไมครอน ประกอบด้วย
1. ส่วนหัว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ภายในคือนิวเคลียสของ spermatid และทางด้านหน้า 2/3 ของนิวเคลียสจะถูกหุ้มด้วย acrosome ซึ่งภายในมี acrosomal enzyme หลายชนิดทำหน้าที่ย่อยทำลายผนังของไข่คือ
- hyaluronidase (cumulus oophorus dispersing enzyme) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย corona radiata
- acrosin หน้าที่ย่อยสลาย zona pellucida ของเซลล์ไข่
2. ส่วนหาง ส่วนประกอบภายในจะคล้ายกันกับ flegellum สร้างมาจาก centriole มี mitochondria ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้แก่ sperm ให้สามารถเคลื่อนไหวได้




รูปที่ 5 ลักษณะโครงสร้างของ sperm

epididymis
epididymis ประกอบด้วย กลุ่มท่อที่ขดไปมาเป็นก้อนโอบโค้งอยู่ทางด้านหลังของอัณฑะ เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาดประมาณ 4 เซ็นติเมตร เมื่อคลี่ออกจะยาวประมาณ 6 เมตร ส่วนปลายสุดที่ยืดตรงขึ้นและโป่งออกกลายเป็น ductus deferens
โครงสร้างภายใน ductus epididymis ประกอบด้วย เยื่อบุผิวชนิด pseudostratified columnar epithelium มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบล้อมรอบเพื่อช่วยบีบไล่ sperm ที่อยู่ใน lumenให้เคลื่อนที่ออกจาก ducttus epididymis
หน้าที่ของ ductus epididymis
1. เป็นแหล่งอาหารและที่พักของ sperm ให้มีการพัฒนาตัวเองจนสามารถเคลื่อนไหวเพื่อเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ได้
2. เป็นทางผ่านของ sperm ออกจากอัณฑะเข้าสู่ ductus deferens
3. หลั่งสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ

ductus deferens (Vas deferens)
ductus deferens เป็นท่อที่ต่อจาก ductus epididymisยาวประมาณ 45 เซ็นติเมตร ออกจากถุงอัณฑะกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของ spermatid cord ภายใน spermatid cord นอกจากประกอบด้วย ductus deferens แล้ว ยังมี หลอดเลือด เส้นประสาท ท่อน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมอยู่ด้วย spermatic cord ผ่านเข้าสู่อุ้งเชิงกรานทาง inguinal canal แล้วทอดไปทางด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะก็จะเหลือแต่ ductus deferens ปลายสุดของ ductus deferens ก็จะโป่งออกเป็นกระเปาะ เรียกว่า ampulla แล้วเชื่อมต่อกับท่อที่ออกจาก seminal vesicle รวมกันกลายเป็น ejaculatory duct เปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะในต่อมลูกหมาก
ductus deferens เป็นท่อที่ทำหน้าที่นำ sperm จากอัณฑะเข้าสู่ ejaculatory duct ในการทำหมันชาย โดยการตัดเส้นทางไม่ให้ sperm ออกสู่ภายนอกไปผสมกับเซลล์ไข่สามารถทำได้ง่าย ด้วยวิธีกรีดผิวหนังทางด้านหลังของถุงอัณฑะแล้วจึงผูกและตัด ductus deferens เนื่องจาก ductus deferens เป็นท่อที่มีชั้นกล้ามเนื้อหนามากสามารถคลำส่วนต้นของท่อนี้ได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำอยู่ทางด้านหลังของถุงอัณฑะ เรียกวิธีการทำหมันในผู้ชายนี้ว่า vasectomy

ejaculatory duct
เป็นท่อสั้นๆ ยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร รับสารที่สร้างมาจาก seminal vesicle และ ductus deferens แล้วแทงทะลุเข้าทางด้านหลังของต่อมลูกหมาก เข้าไปเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะที่อยู่ในต่อมลูกหมาก

seminal vesicle
seminal vesicle มีลักษณะเป็นถุงยาวขดไปมาทางด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มีอยู่ 2 ข้างจะให้ท่อเชื่อมต่อกับ ampulla ของ ductus deferens กลายเป็น ejaculatory duct seminal vesicle จะสร้างสารซึ่งประกอบด้วยสารเมือก fructose สำหรับให้พลังงานแก่ sperm เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว prostaglandins เพื่อทำให้มดลูกหดตัวช่วยบีบไล่ sperm ให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมี วิตามินซี และ coagulating enzyme สารที่หลั่งออกจาก seminal vesicle มีปริมาณ 60 % ของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาแต่ละครั้ง มีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอดของผู้หญิง

ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
ต่อมลูกหมาก เป็นก้อนรูปร่างคล้ายกรวย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซ็นติเมตร น้ำหนัก 20 กรัม หุ้มรอบท่อปัสสาวะ มี ejaculatory duct ทะลุผ่านมาเปิดออกที่ prostatic urethra ผนังชั้นนอกของต่อมลูกหมากถูกห่อหุ้มด้วยถุง(capsule) เนื้อต่อมลูกหมากประกอบด้วย stroma part ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบ และ glandular part ประกอบด้วยโครงสร้างที่อยู่ภายในมีต่อมขนาดเล็กชนิด compound tubuloalveolar gland มากมายเรียงตัวล้อมรอบท่อปัสสาวะ จะให้ท่อเล็ก ๆ มาเปิดออกที่ท่อปัสสาวะ สารที่สร้างมาจากต่อมลูกหมาก มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวคล้ายน้ำนม มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย ประกอบด้วย acid phosphatase, citric acid , cholesterol, phospholipid, zinc, proteolytic enzyme และ fibrinolysin ซึ่งช่วยหลอมละลายการแข็งตัวของก้อนอสุจิที่หลั่งออกมา สารที่หลั่งออกจากต่อมลูกหมากจะกระตุ้นให้ sperm เคลื่อนไหวได้ดี มีการสร้างสารอาหารสำหรับ sperm ซึ่งการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งมีสารที่สร้างจากต่อมลูกหมากประมาณ 30 %

Cowper's gland (bulbourethral gland)
Cowper's gland เป็นต่อมขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่ว 2 ต่อม ตั้งอยู่ 2 ข้างของท่อปัสสาวะ แต่อยู่ต่ำกว่าต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่ให้ท่อออกมาเปิดออกสู่ท่อปัสสาวะที่อยู่ใน penis สารที่สร้างและหลั่งออกมา เป็นสารเมือก มีฤทธิ์เป็นด่างทำหน้าที่หล่อลื่นและลดความเป็นกรดภายในท่อปัสสาวะของผู้ชายและในช่องคลอดของผู้หญิง


รูปที่ 6 ลักษณะโครงสร้างของ accessory gland และ penis


penis
penis เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะและน้ำอสุจิ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่แนบชิดติดกับลำตัวเรียกว่า root และส่วนที่ยื่นออกมาเรียกว่า body penis ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ (erectile tissue) ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก 3 แท่ง ภายในมีลักษณะคล้ายฟองน้ำประกอบด้วยโพรงของแอ่งเลือดเล็ก ๆ (sinusoid) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบเรียงตัวเป็นแผ่นมี endothelial cell ของหลอดเลือดคลุม แท่งเนื้อเยื่อทางด้านบน 2 แท่งเรียกว่า corpus cavernosum มาอยู่ชิดกัน มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า tunica albuginea ที่หนาหุ้มรอบ ที่บริเวณ root ของ penis แท่งเนื้อเยื่อทั้งสองจะแยกออกจากกันแล้วจะไปเกาะติดกับกระดูก pubis ส่วนแท่งเนื้อเยื่อที่อยู่ทางด้านล่างตรงแอ่งระหว่าง corpus cavernosum ทั้งสองเรียกว่า corpus spongiosum ภายในมีท่อปัสสาวะอยู่ตรงกลางตลอดความยาว ที่บริเวณ root ของ penis แท่งเนื้อเยื่อนี้จะโป่งออกเป็นกระเปาะเรียกว่า bulb ของ penis ส่วนปลายสุดของ corpus spongiosum จะขยายโป่งออกและคลุมส่วนปลายสุดของ corpus cavernosum กลายเป็น glans of penis เป็นบริเวณที่พบปลายประสาทรับความรู้สึกเป็นจำนวนมากทำให้ไวต่อการกระตุ้น ตรงกลางมีรูเปิดของท่อปัสสาวะ แท่งเนื้อเยื่อทั้งสามจะถูกยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแล้วมีผิวหนังค่อนข้างบางหุ้มรอบชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ส่วนปลาย glans of penis จะมีผิวหนังทบกัน 2 ชั้นยื่นออกมาคลุม glans of penis เอาไว้เรียกว่า prepuce หรือ foreskin ในชั้นผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมเหงื่อ และต่อมไขมันมาก เมื่อมีการหลั่งสารออกจากต่อมพร้อมกับเซลล์ที่หลุดลอกออกจากผิวหนังมารวมตัวกันจะเป็นก้อนสีขาวขุ่นเรียกว่า smegma ถ้าหากทำความสะอาดบริเวณนี้ไม่ดีจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นการผ่าตัดเอา prepuce ออกซึ่งเรียกว่าการทำ circumcision จะทำให้สามารถทำความสะอาดบริเวณนี้ได้ง่าย


ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Female Reproductive System)


ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจาก สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่ และสร้าง hormone เพศหญิงแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลฟูมพักให้ เซลล์ไข่ที่ผสมติดให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนจนคลอดออกมา ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบ ด้วย
อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia) เป็นอวัยวะที่มองเห็นได้จาก ภายนอก อาจจะเรียกว่า vulva หรือpudendum ซึ่งได้แก่ เนินหัวเหน่า แคมใหญ่ แคมเล็ก clitoris, vestibule, Bartholin's gland , paraurethral gland และบริเวณฝีเย็บ
1. ช่องคลอด (vagina) เป็นช่องทางผ่านของ sperm ที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ และเป็นทางออกของเลือดประจำเดือนและทารก
2. รังไข่ (ovary) มีการพัฒนามาจาก gonad ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ และ hormone เพศหญิงคือ estrogen และ progesterone
3. ท่อนำไข่ (uterine tube) เป็นท่อทำหน้าที่นำเซลล์ไข่จากรังไข่ ให้เคลื่อนไปสู่มดลูก
4. มดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและนำสารอาหารมาเลี้ยงเซลล์ไข่ที่ผสมติดแล้วจนพัฒนาเป็นตัวอ่อน
...............นอกจากนี้ยังมีรกและเต้านม ซึ่งไม่ได้จัดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง แต่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia)
1. เนินหัวเหน่า (mone pubis) เป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า (pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้ สำหรับในเพศหญิงแนวขนจะเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมมียอดชี้ลงมาทางด้านล่าง ส่วนในเพศชายยอดของสามเหลี่ยมจะชี้ขึ้นไปทางสะดือ
2. แคมใหญ่ (labia majora) เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณผีเย็บ
3. แคมเล็ก (labia minora) เป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบทางด้านในของแคมใหญ่ กลีบของแคมเล็กทางด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2 แฉก แฉกด้านบนมาจรดกันกลายเป็นผิวหนังคลุม clitoris เรียกว่า prepuce of clitoris แฉกด้านล่างจรดกันใต้ clitoris เรียกว่า frenulum of clitoris ส่วนปลายหลังของแคมเล็กจะโอบรอบรูเปิดของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ แล้วมาจรดกันด้านหลังเรียกว่า fourchette แคมเล็กไม่มีขนงอก
4. clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นอวัยวะที่เทียบได้กับ glans penis ในเพศชาย และมีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกัน มีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอด จะทำให้เจ็บ เสียเลือดมาก และเย็บติดได้ยาก
5. vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchette บริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้
- รูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม.
- รูเปิดของช่องคลอด (vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่
- รูเปิดของ Bartholin's gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่


รูปที่ 1 ตำแหน่งและลักษณะโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

6. Bartholin's gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด ต่อมนี้เปรียบเทียบได้กับต่อมคาวเปอร์ในเพศชาย จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหมจารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น และมีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด
7. เยื่อพรหมจารีย์ (hymen) เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาปิดรูเปิดของช่องคลอด ตรงกลางจะมีรูเปิดเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ ในเด็กบางคนเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีรูเปิดจึงปิดช่องคลอดไว้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ เรียก imperferated hymen
8. ฝีเย็บ (perineum) เป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ยม (diamond-shape) โดยลากเส้นเชื่อมต่อจากกระดูกหัวเหน่าไปยัง ischial tuberosity 2 ข้าง และกระดูกก้นกบ แต่ถ้าลากเส้นตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischial tuberosity ทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอกทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า anal triangle จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่ บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก จะมีก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรงอยู่ข้างในเรียกว่า perineal body ซึ่งมีความสำคัญ เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายหลายมัดที่ทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไม่ให้เคลื่อนออกมา ฝีเย็บมักจะฉีกขาดขณะที่ทำการคลอด ถ้าหากไม่มีการเย็บซ่อมก็อาจจะทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะมดลูกเคลื่อนที่ออกมาทางช่องคลอด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ฝีเย็บฉีกขาด ขณะทำคลอดจะต้องตัดบริเวณฝีเย็บ เรียกว่า episiotomy เพื่อเปิดช่องคลอดให้กว้างขึ้นจะได้คลอดสะดวก เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วค่อยทำการเย็บปิดกลับตามเดิม

ช่องคลอด (vagina)
ช่องคลอด ตั้งอยู่ระหว่างทวารหนักและท่อปัสสาวะ เริ่มจากรูเปิดของช่องคลอดทอดทอดเฉียงขึ้นไปทางด้านหลังจนถึงปากมดลูก โดยจะสวมรอบปากมดลูกเอาไว้ ...............ทำให้เกิดเป็นซอกเล็กๆ เรียกว่า fornix ทางด้านหน้าเรียกว่า anterior fornix ทางด้านหลังเรียกว่า posterior fornix ส่วนทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านเรียกว่า lateral fornix
ผนังภายในช่องคลอดมีลักษณะเป็นรอยย่นตามขวาง เรียกว่า rugae ทำให้ผนังช่องคลอดสามารถยืดขยายตัวได้ บุด้วยเยื่อบุผิวชนิด stratified squamous epithelium ซึ่งจะมีเซลล์ชั้นล่างเจริญขึ้นมาแทนที่เซลล์ชั้นบนสุด ซึ่งมีการลอกหลุดออกไปบ้าง ในผนังช่องคลอดจะไม่มีต่อมชนิดใดอยู่เลย สารเมือกในช่องคลอดได้มาจากต่อมของปากมดลูก เยื่อบุผิวของผนังช่องคลอดนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามระดับของ hormone กล่าวคือขณะที่มี estrogen สูงก็จะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุผิวสร้างสาร glycogen ออกมา เพื่อให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดคือ Doderlein bacilli ทำการสลายให้กลายเป็น lactic acid ทำให้ภายในช่องคลอดมีสภาพเป็นกรด สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นๆ ได้ ส่วนน้ำอสุจิมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนทำให้ความเป็นกรดในช่องคลอดลดลง sperm จึงสามารถมีชีวิตอยู่ภายในช่องคลอดได้ กล่าวโดยสรุป ช่องคลอดทำหน้าที่เป็นอวัยวะรองรับน้ำอสุจิ เป็นทางผ่านของเลือดประจำเดือน และเป็นช่องทางคลอดของทารก

รังไข่ (ovary)
รังไข่ มีอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่แบน มีขนาด 3 x 1.5 x 1 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3 กรัม วางตัวอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทางด้านหลังของ broad ligament โดยมีเยื่อบุช่องท้องยึดระหว่างรังไข่ไว้กับ broad ligament เรียกว่า mesovarium ขอบด้านในของ mesovarium จะหนาตัวขึ้นเป็นพิเศษเรียก ligament of ovary ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างรังไข่กับมดลูก ภายใน mesovarium เป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่

โครงสร้างภายในของรังไข่
รังไข่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เมื่อผ่ารังไข่ออกแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า ภายในรังไข่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้แบ่งรังไข่ออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้
- ชั้นนอก (cortex) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาแน่นมาก ในชั้นนี้มีไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ไข่แต่ละใบจะมีเซลล์บริวารล้อมรอบอยู่เสมอ
- ชั้นใน (medulla) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ภายในมีหลอดเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง

วงจรการเจริญของไข่ (ovarian cycle)
เมื่อครั้งยังคงเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดานั้น ภายในชั้น cortex ของรังไข่จะมี ovarian follicle หลายล้านใบ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มี ovarian follicle เพียง 400,000 ใบ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป (atresia) มีเพียง 400 - 500 ใบเท่านั้นที่เติบโตสมบูรณ์ครบวงจร จนพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ovarian follicle ที่พบในรังไข่มีหลายระยะดังนี้
primodial follicle พบได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ประกอบด้วย เซลล์ไข่ (primary oocyte) และเซลล์บริวาร (follicular cell) แบนๆ เพียงชั้นเดียว
growing follicle เป็น follicle ที่ได้รับการกระตุ้นจาก follicle stimulating hormone (FSH) จากต่อมใต้สมอง ทำให้ primary oocyte มีขนาดใหญ่ขึ้น และ follicular cell เปลี่ยนจากเซลล์แบนๆ กลายเป็น cuboidal cell และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนซ้อนกันหลายๆ ชั้น ซึ่งอาจจะเรียกเซลล์พวกนี้ว่า granulosa cell ก็ได้ ต่อมามีการสร้างของเหลวสะสมนอกเซลล์ เกิดเป็นแอ่งเรียกว่า follicular antrum ในขณะเดียวกันทั้ง primary oocyte และ granulosa cell จะมีการสร้างสารพวก glycoprotein หุ้มรอบ oocyte เรียกว่า zona pellucida นอกจากนี้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ล้อมรอบ follicle ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็น theca cells ทำหน้าที่ร่วมกับ granulosa cells สร้างฮอร์โมน estrogen
Graafian (mature) follicle เป็น follicle ที่เจริญเต็มที่แล้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซ็นติเมตร ระยะนี้ primary oocyte จะแบ่งตัวกลายเป็น secondary oocyte ต่อมา Graafian follicle จะเคลื่อนไปที่บริเวณผิวของรังไข่ พร้อมที่จะหลุดออกจากรังไข่เมื่อได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมน LH เรียกกระบวนการตกไข่นี้ว่า ovulation เซลล์ไข่ที่หลุดออกมาจากรังไข่เรียกว่า ovum ประกอบด้วย secondary oocyte มี zona pellucida และ corona radiata ที่ล้อมรอบไข่ ไปรอรับการผสมอยู่ในปีกมดลูก หากเซลล์ไข่นี้ไม่ได้รับการปฏิสนธิภายใน 24 ชั่วโมงก็จะสลายไป ในสภาวะปกติเซลล์ไข่จะตกสลับกันเดือนละข้างและจะตกออกมาเพียงเดือนละ 1 ใบเท่านั้น
corpus luteum
หลังจากผนังของ follicle แตกทำให้ secondary oocyte หลุดออกจากรังไข่ไปแล้ว เห็นเป็นสีเหลือง ภายในรังไข่จะเหลือแต่ follicle เปล่าๆ ประกอบด้วย granulosa lutein cell และ theca lutein cell ซึ่งรวมเรียกว่า corpus luteum จะทำหน้าที่สร้าง progesterone และ estrogen ออกมา ซึ่ง progesterone จะมีปริมาณที่มากกว่าเป็น hormone หลักในการกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงเป็น secretory endometrium เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่ถ้าเซลล์ไข่ไม่ได้รับการผสมและฝังตัวภายใน 14 วันหลังจากการตกไข่ corpus luteum ก็จะสลายตัวไป มีเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเจริญเข้าไปแทนที่กลายเป็น corpus albican

รูปที่ 2 ลักษณะโครงสร้างภายในรังไข่

การเจริญของเซลล์ไข่ (maturation of oocyte หรือ oogenesis)
การเจริญของเซลล์ไข่แตกต่างจากการเจริญของ sperm คือในแต่ละเดือนเซลล์ไข่สามารถเจริญพร้อมที่จะผสมกับ sperm ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ในขณะที่เพศชายสามารถผลิต sperm ได้จำนวนนับพันล้านตัวที่เจริญสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอาศัยเวลานานจึงจะเสร็จสิ้นได้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการผลิตเซลล์ไข่ให้เจริญสมบูรณ์จนพร้อมที่จะผสมได้นั้นเรียกว่า oogenesis โดย เริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดามี primodial germ cell เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น mesoderm เคลื่อนที่แทรกเข้าไปในรังไข่เรียกชื่อใหม่ว่า


รูปที่ 3 การเจริญของเซลล์ไข่

oogonia มี 46 chromosome (2n) oogonia มีการแบ่งเซลล์แบบ mitosis กลายเป็น primary oocyte ต่อมา primary oocyte ก็จะเจริญต่อไป จนถึงระยะ prophase ของการแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 ก็จะหยุดเจริญเติบโตเพียงแค่นี้ รอจนกว่าตัวอ่อนจะคลอดออกมาแล้วเจริญเติบโตจนเข้าสู่วัยสาว เมื่อได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมอง primary oocyte ซึ่งอยู่ภายใน primodial follicleก็จะเจริญต่อไปจนกลายเป็น growing และ graafian follicle ตามลำดับ และก่อนที่จะมีการตกไข่ primary oocyte ที่อยู่ใน graafian follicle ก็จะแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 โดยสมบูรณ์ ทำให้ได้เซลล์ 2 ชนิด ซึ่งมีจำนวนของ chromosome ลดลงครึ่งหนึ่งเป็น 23 chromosome (n) เซลล์ชนิดแรกเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มี cytoplasm มากเรียกว่า secondary oocyte หรือ ootid เซลล์ชนิดที่ 2 มีขนาดเล็ก cytoplasm น้อยกว่าเรียกว่า first polar body ซึ่งทั้ง 2 เซลล์ยังคงอยู่ใน zona pellucida หลังจากนั้น secondary oocyte ก็จะหยุดการเจริญเติบโตอีกครั้ง รอจนกระทั่งมีการตกไข่ secondary oocyte และ first polar body ซึ่งมี zona pellucida และ corona radiata ห่อหุ้มก็จะเคลื่อนผ่านไปตามท่อนำไข่เมื่อ secondary oocyte ได้รับการผสมกับ sperm การแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทันทีกลายเป็น mature ovum และ second polar body กรณีที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ secondary oocyte ก็จะไม่มีการแบ่งเซลล์และสลายตัวภายในท่อนำไข่ แล้วอีก 14 วันต่อมา primary oocyte กลุ่มใหม่ในรังไข่ก็จะได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมองให้สร้างเซลล์ไข่เซลล์ใบใหม่ต่อไป

ท่อนำไข่ (uterine tube, fallopian tube หรือ oviduct)
ท่อนำไข่ เป็นท่อที่วางทอดตัวโค้งไปทางด้านหลัง อยู่ตรงขอบด้านบนของ broad ligament ซึ่งเป็นเยื่อบุช่องท้อง 2 ชั้นคลุมอยู่ ท่อนำไข่ยาวประมาณ 4 นิ้ว ปลายด้านหนึ่งจะเปิดออกสู่ช่องท้อง (peritonial cavity) ส่วนปลายอีก ข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่โพรงมดลูก
ท่อนำไข่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนคือ
1. infundibulum เป็นรูปกรวย ส่วนปลายที่เปิดออกสู่ช่องท้องมีส่วนยื่นออกเป็นริ้วคล้ายนิ้วมือเรียกว่า fimbriae เพื่อรองรับและเก็บเซลล์ไข่ที่ตกออกมาในช่องท้องโดย cilia จะช่วยโบกพัดให้เซลล์ไข่เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่
2. ampulla เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและมีผนังบาง อยู่ต่อจาก infundibulum เป็นบริเวณที่เซลล์ไข่ผสมกับ sperm
3. isthmus เป็นส่วนที่แคบที่สุดของท่อนำไข่ อยู่ติดกับด้านข้างของมดลูกเหนือ round ligament
4. intramural (interstitial) segment เป็นส่วนของท่อนำไข่ที่ฝังตัวอยู่ในผนังของมดลูก
ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เก็บเซลล์ไข่ที่หลุดออกจากรังไข่ เป็นบริเวณที่ผสมกันของเซลล์ไข่กับ sperm และนำเซลล์ไข่ทีผสมติดแล้วเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูก ดังนั้นในระยะก่อนไข่ตก fimbriae จะเคลื่อนเข้าใกล้รังไข่ cilia ที่ fimbriae จะโบกพัดเซลล์ไข่ที่ตกลงไปในช่องท้องให้เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่ แล้วเดินทางต่อไปจนเข้าสู่โพรงมดลูกโดยอาศัยการโบกพัดของ cilia และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ

มดลูก (uterus)
มดลูก เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์หรือลูกชมพู่ มีผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนา ตั้งอยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะและด้านหน้าของทวารหนัก ในระยะที่ไม่ตั้งครรภ์มดลูกจะมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว หนา 1 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 50 - 60 กรัม เมื่อตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกจะขยายใหญ่หลายเท่าและจะกลับสู่สภาพเดิมหลังคลอด เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนมดลูกก็จะเหี่ยวเล็กลงตามอิทธิพลของฮอร์โมน
มดลูกแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ

- fundus คือส่วนบนที่อยู่เหนือท่อนำไข่ เป็นส่วนที่กว้างที่สุด
- body คือส่วนที่อยู่ต่ำกว่าท่อนำไข่ เรียวลงไปจนถึงส่วนแคบที่เรียกว่า isthmus
- cervix คือส่วนล่างสุดที่อยู่ติดกับช่องคลอด หรือที่เรียกว่าปากมดลูก
ภายในมดลูก มีโพรงมดลูก (uterine cavity) เป็นช่องว่างรูปสามเหลี่ยม ส่วนช่องใน cervix เป็นรูปกระสวยเรียกว่า cervical canal เมื่ออยู่ในท่ายืนตรงขณะที่กระเพาะปัสสาวะว่าง มดลูกจะงอพับไปทางด้านหน้าเล็กน้อย โดยวางตัวอยู่บนกระเพาะปัสสาวะในลักษณะที่เรียกว่า anteverted and anteflexed ซึ่งถือว่าเป็นท่าปกติของมดลูก
มดลูกมี ligament ซึ่งทำหน้าที่คอยยึดตัวมดลูกให้อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ดังนี้คือ
- broad ligament เป็นส่วนของเยื่อบุช่องท้อง (parietal peritoneum) 2 ชั้น คลุมมดลูกเอาไว้ ด้านข้างจะแผ่ออกเป็นแผ่นกว้างยึดด้านข้างของมดลูกทั้ง 2 ข้างให้ติดกับผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน
- round ligament เป็นก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อยู่ภายใน broad ligament จะเกาะที่ด้านข้างของมดลูกบริเวณใต้ท่อนำไข่ แล้วทอดเข้า inguinal canal ไปยึดกับแคมเล็ก round ligament เป็นตัวดึงมดลูกให้งอพับไปทางด้านหน้า ปกติ ligament ทั้ง 2 ชนิดนี้จะหย่อนตัวอยู่ในอุ้งเชิงกราน จึงไม่ค่อยมีผลในการที่จะคอยดึงหรือประคับประคองให้มดลูกลอยอยู่ในอุ้งเชิงกรานได้ ดังนั้นจะต้องมีอวัยวะอื่นมาช่วยยึดมดลูกเอาไว้ได้แก่
1. กล้ามเนื้อ levator ani เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดจากกระดูก pubis, ischium และ ilium ไปเกาะที่กระดูก coccyx กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นรองรับอวัยวะภายในช่องท้องทุกชนิด ไม่ให้ร่วงหล่นออกมาจากช่องท้อง กล้ามเนื้อนี้ยังให้เส้นใยบางส่วนไปเกาะติดกับปากมดลูก ดังนั้นจึงทำหน้าที่ยึดมดลูกให้อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน และให้เส้นใยไปเกาะติดกับ perineal body จึงทำให้ perineal body เป็นอวัยวะอีกอันหนึ่งที่มีผลช่วยในการรองรับมดลูกและช่องคลอดไว้ด้วย
2. ligament ที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกที่สำคัญมี 3 ligament คือ
- transverse cervical ligament (Cardinal หรือ Mackenrodt's หรือ lateral cervical ligament) ตั้งอยู่ใต้ broad ligament ยึดจากปากมดลูกไปติดกับด้านข้างของอุ้งเชิงกรานทั้ง 2 ด้าน
- pubocervical ligament ยึดจากปากมดลูกไปเกาะที่ขอบของกระดูก pubis
- sacrocervical ligament (uterosacral ligament) ยึดจากปากมดลูกและขอบบนของช่องคลอดไปเกาะที่กระดูก sacrum


รูปที่ 4 ลักษณะโครงสร้างภายในท่อนำไข่และมดลูก

ถ้าหาก ligament หย่อนยาน หรือกล้ามเนื้อ levator ani และ perineal body ฉีกขาดก็จะทำให้มดลูกเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในช่องคลอด หรือโผล่ออกมาทางรูเปิดของช่องคลอดเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า prolapse of uterus
โครงสร้างของผนังมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
1. ชั้นนอกสุดเรียกว่า perimetrium หรือ serosa ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุช่องท้องลงมาคลุมมดลูกเอาไว้ ทางด้านข้างจะกลายเป็น broad ligament ทางด้านหน้าเยื่อบุช่องท้องจะวกกลับไปคลุมกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดเป็นแอ่งระหว่างมดลูกกับกระเพาะปัสสาวะเรียกว่า vesicouterine pouch ส่วนทางด้านหลังเยื่อบุช่องท้องจะวกกลับไปคลุมไส้ตรง ทำให้เกิดแอ่งลึกระหว่างมดลูกกับไส้ติ่ง เรียกว่า rectouterine pouch (pouch of Douglas) ซึ่งเป็นแอ่งที่อยู่ต่ำที่สุดในช่องท้อง ถ้าหากเกิดการตกเลือดหรือมีการอักเสบในช่องท้องจะทำให้เลือดหรือหนองมาขังอยู่ในแอ่งนี้
2. ชั้นกลางเรียกว่า myometrium ประกอบด้วยชั้นของกล้ามเนื้อเรียบที่หนาประมาณ 12-15 มิลลิเมตร ซึ่งมีการเรียงตัวทั้งแบบตามยาว วงกลม และแบบเฉียง ในช่วงตั้งครรภ์เส้นใยกล้ามเนื้อสามารถที่จะขยายให้ใหญ่ขึ้นและยืดยาวออกได้ถึง 10 เท่าตัว เมื่อคลอดบุตรแล้วกล้ามเนื้อของมดลูกจะหดเล็กลงตามเดิม
3. ชั้นในสุดเรียกว่า endometrium ชั้นนี้จะมีเยื่อบุผิวชนิด simple columnar epithlium มีcilia ปะปนอยู่ ภายในมีต่อมชนิด simple coiled tubular gland ที่เรียกว่า uterine gland นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอยู่กันอย่างหลวม ๆ เรียกว่า stroma และหลอดเลือดที่มีลักษณะขดไปมาเรียกว่า spiral (coiled) artery ผนังชั้นนี้แบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
3.1 functional layer หรือ functionalis อยู่ติดกับโพรงมดลูกประกอบด้วยเยื่อบุผิวและ uterine gland และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (endometrium stroma) ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาของรอบประจำเดือน และจะหลุดลอกออกไปขณะที่มีประจำเดือน
3.2 basal layer หรือ basalis เป็นชั้นที่ติดกับ myometrium ชั้นนี้จะแบ่งเซลล์ให้เนื้อเยื่อเจริญขึ้นไปแทนที่ชั้น functionalis หลังจากที่มีการหลุดลอกออกไปเป็นเลือดประจำเดือนแล้ว

รูปที่ 5 ลักษณะโครงสร้างภายในผนังมดลูก

ในบางครั้งจะพบผนังชั้น endometrium ไปอยู่ในอวัยวะอื่นนอกมดลูก เช่น รังไข่ ซึ่งผนังชั้น endometruim ที่เจริญผิดตำแหน่งนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับในมดลูก เรียกลักษณะที่ผนังชั้น endometrium ไปเจริญผิดตำแหน่งนี้ว่า endometriosis ทำให้มีอาการปวดท้องผิดปกติในระยะก่อนหรือขณะมีประจำเดือน ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากขณะที่ endometrium ในมดลูกมีการหลุดลอกออกมานั้นผนัง endometrium ที่ไปเจริญนอกมดลูกก็มีการหลุดลอกเป็นเลือดเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องท้อง endometriosis พบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 25 - 40 ปี ซึ่งความผิดปกตินี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยากในผู้หญิง
มดลูกได้รับสารอาหารและเลือดมาเลี้ยงจาก uterine artery ซึ่งเป็นแขนงจาก internal iliac artery แล้วจะแตกแขนงเล็ก ๆ ล้อมรอบมดลูกเรียกว่า arcuate artery แล้วแทงทะลุเข้าสู่มดลูกก็จะแตกแขนงเป็น radial artery เข้าไปอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อ แล้วจึงแตกแขนงอีกครั้ง เข้าสู่ผนังชั้น endometrium กลายเป็น straight และ spiral artery ตามลำดับ
หน้าที่ของมดลูก
1. เป็นแหล่งสำรองอาหาร รอรับการฝังตัวของตัวอ่อน
2. เป็นที่เจริญเติบโตของทารกจนครบกำหนดคลอด
3. เป็นอวัยวะที่ดันให้ทารกคลอดออกมาได้
รอบประจำเดือน (menstrual cycle)
รอบประจำเดือน (menstrual cycle) เป็นรอบการเปลี่ยนแปลงทุก 28 วัน ของผนังมดลูกชั้น endometrium ในหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ ขณะที่ยังไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก hormone เพศหญิง ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ เพื่อสร้างเซลล์ไข่ออกมาทุกๆ 28 วันเช่นกัน เรียกว่า ovarian cycle ทั้งรังไข่และผนังชั้น endometrium มีการเปลี่ยนแปลง โดยอิทธิพลของ gonadotropin releasing hormone (GnRH) จาก hypothalamus ไปมีผลกระตุ้นต่อมใต้สมองให้สร้าง FSH และ LH ออกมา ทำให้ ovarian follicle ภายในรังไข่ มีการเจริญเติบโตและสร้าง estrogen และ progesterone ออกมา ซึ่ง hormone จากรังไข่ทั้งสองชนิดจะไปออกฤทธิ์ที่ผนังชั้น endometrium ของมดลูกให้มีการเปลี่ยนแปลงเตรียมพร้อมเพื่อรับการฝังตัวของตัวอ่อน หรือถ้าหากไม่ได้รับการฝังตัวผนังชั้น endometrium ก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็น เลือดประจำเดือน ( menstrual flow หรือ menses) ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนอยู่ถือว่าเป็นผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เริ่มตั้งแต่ระยะที่มีประจำเดือนครั้งแรกเรียกว่า menarche ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 12-14 ปี ไปจนถึงระยะหมดประจำเดือนเรียกว่า menopause ซึ่งมีอายุประมาณ 45-50 ปี จะมีอาการของการมีประจำเดือนผิดปกติ หรือประจำเดือนขาดหายไปเลย เป็นระยะที่บ่งชี้ให้ทราบว่า ถึงระยะเวลาสิ้นสุดของวัยเจริญพันธุ์ ตลอดเวลาของรอบประจำเดือน นอกจากจะมีเลือดประจำเดือนไหลออกมาแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นในระยะต่าง ๆ ของรอบประจำเดือน เช่น การเปลี่ยนแปลงของเต้านม อุณหภูมิของร่างกาย ลักษณะและปริมาณของสารเมือกจากปากมดลูกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ด้วย รอบประจำเดือนของแต่ละเดือนจะมีระยะห่างกันประมาณ 28-30 วันซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะคือ menstrual phase , proliferative phase และ secretory phase ส่วน ovarian cycle มี 3 ระยะคือ follicular หรือ preovulatory phase , ovulatory phase และ luteal หรือ postovulatory phase ซึ่งทั้ง 2 cycle ถูกควบคุมโดย GnRH จาก hypothalamus และทำงานร่วมกันจึงขอกล่าวไปพร้อมกันดังนี้คือ menstrual phase ระยะนี้มีเลือดประจำเดือนไหลออกมา เนื่องจากเซลล์ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิและฝังตัวทำให้ corpus luteum สลายตัว ปริมาณของ estrogen และ progesterone ลดลง ทำให้ผนังชั้น functionalis ของ endometrium หลุดลอกออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือน ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน โดยวันแรกของการมีประจำเดือนจะตรงกับวันแรกของ follicular phase ของ ovarian cycle ซึ่งระยะนี้ต่อมใต้สมองจะหลั่ง FSH และ LH ออกมากระตุ้นรังไข่ให้มีการสร้าง primary follicle 20-25 follicle จนถึงปลายระยะ menstrual phase ก็จะเริ่มเป็น growing follicle

รูปที่ 6 menstrual cycle

proliferative phase เป็นระยะที่มีการหนาตัวขึ้นของผนังชั้น endometrium หลังจากการมีประจำเดือน เป็นวันที่ 6-13 ของรอบประจำเดือน 28 วัน ซึ่งตรงกับ follicular phase ของ ovarian cycle เนื่องจากมีการเจริญของ follicle หรืออาจจะเรียกว่า preovulatory phase ซึ่งเป็นระยะก่อนไข่ตก ต่อมใต้สมองจะหลั่ง FSH และ LH ออกมากระตุ้น ovarian follicle ให้เจริญจาก growing follicle จนกลายเป็น Graafian follicle และกระตุ้นรังไข่ให้สร้าง hormone estrogen ออกซึ่งไปมีผลดังนี้
1. ทำให้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยสาวมีรูปร่างลักษณะเป็นเพศหญิง (female secondary sexual charecteristic) มีไขมันพอกตามร่างกาย เต้านมโตขึ้น มีขนงอกตามรักแร้และหัวเหน่า
2. ทำให้ผนังชั้น endometrium หนาตัวขึ้น โดยเซลล์ในชั้น basalis มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว เพื่อทดแทนชั้น functionalis ที่หลุดออกไป

ovulatory phase
เป็นระยะช่วงกลางของรอบประจำเดือน ประมาณวันที่ 13-14 ของรอบประจำเดือน 28 วัน ในระยะนี้ต่อมใต้สมองจะมีการหลังของ LH ในปริมาณที่สูงสุดเรียกว่า LH surge ซึ่งจะมีผลทำให้ไข่ตกออกมาจากรังไข่ สำหรับผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนไม่แน่นอน จะเป็นการยากที่จะกำหนดวันตกไข่ได้ ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกายเช่น
- อุณหภูมิของร่างกาย ( basal body temperature ) หลังจากการตกไข่ corpus luteum จะสร้าง progesterone ออกมาซึ่งระดับของ progesterone ที่สูง ขึ้นนี้ไปมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.4-0.6 องศาฟาเรนไฮน์
- การหลั่งสารเมือกจากปากมดลูก (cervical mucous) เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ estrogen และ progesterone ซึ่งในระยะก่อนตกไข่ ปริมาณของ estrogen ที่สูงมากทำให้ปากมดลูกสร้างสารเมือกออกมามากเรียกว่า cervical plug เมือกมีลักษณะเหนียวใสยืดได้ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทัศน์เห็นตกผลึกมีลักษณะเป็นรูปใบเฟิร์น (fernpattern) ส่วนระยะหลังจากการตกไข่ผลของ progesterone จะทำให้เมือกมีปริมาณน้อยลงและมีลักษณะขาวขุ่นไม่เหนียว เมือกจากปากมดลูกจะไปมีผลปกป้อง sperm ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพที่เป็นกรดในช่องคลอดได้ และช่วยให้sperm เตรียมพร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่
secretory phase ระยะนี้เกิดหลังจากการตกไข่ไปจนถึงระยะเริ่มมีเลือดประจำเดือนไหลออกมา ประมาณวันที่ 15-28 ของรอบประจำเดือน 28 วัน เป็นเวลา 14 วันหลังตกไข่ซึ่งตรงกับ luteal หรือ postovulation phase ของ ovarian cycle ผลของ LH จะไปกระตุ้นให้ follicle เปล่า ๆ กลายเป็น corpus luteum และกระตุ้น corpus luteum ให้สร้าง progesterone และ estrogen ออกมาซึ่ง progesterone ที่สูงขึ้นจะไปทำให้ผนังชั้น endometrium หนานุ่มและหลั่งสารพวก glycogen ออกมา สำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมติด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า decidaul reaction จะต้องเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ภายใน 1 สัปดาห์ หลังการตกไข่ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าหากเซลล์ไข่ไม่ได้รับการผสม LH ที่ลดลงจะทำให้ corpus luteum เสื่อมสลายลงกลายเป็น corpus albican แล้วระดับของ estrogen และ progesterone ก็ลดลงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน แต่ถ้าหากเซลล์ไข่ถูกผสมติดและมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น รกก็จะสร้าง human chorionic hornone (hCG) ออกมาสามารตรวจนับได้ภายใน 8 วันหลังไข่ตก ซึ่ง hormone ตัวนี้มีคุณสมบัติคล้าย LH จะทำหน้าที่แทน LH กระตุ้น corpus luteum ให้สร้าง progesterone และ estrogen ต่อไปอีกประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้ endometrium ยังคงอยู่รับการฝังตัวและเจริญเป็นตัวอ่อน หลังจากนั้นรกก็จะทำหน้าที่สร้าง estrogen และ progesterone แทนรังไข่